ข้อมูลประวัติ จอร์จ สตีเฟนสัน (George Stephenson)

13 Dec

จอร์จ สตีเฟน ผู้ได้รับการยกย่องว่าเป็น “ผู้ประดิษฐ์รถไฟคนแรกในโลก” เกิดเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน ค.ส. 1781 ที่ตำบลวีลัมใกล้กับเขตเมืองนิวคาสเซิลประเทศอังกฤษเป็นบุตรของกรรมกรขุดถ่านหินจน ๆ คน หนึ่ง ซ้ำครอบครัวนี้ยังมีบุตร ซึ่งรวมทั้งยอร์จด้วยถึงหกคนจึงอยุ่ในสภาพของความยากแค้นในกลุ่มคนขุดถ่าน หินด้วยกัน ด้วยเหตุนี้ ยอร์จจึงต้องออกทำงานช่วยบิดาหาเงินแต่เล็ก ๆ ช่วยดูแลน้องเล็ก ๆ ให้พ้นอันตราย จากถ่านหินทับ ต้องไปรับจ้างเลี้ยงวัวตามคอกปศุสัตว์และเมื่อโตขึ้นหน่อย ก็รับจ้างอยู่ในบ่อถ่านหินกับบิดา คือทำหน้าที่เลือกถ่านหินออกจากเศษหิน พออายุ 15 ปีก็ทำหน้าที่พนักงานขับรถขนถ่านหิน

ว่าถึงการศึกษาแล้ว ยอร์จค่อนข้างจะอาภัพอยู่สักหน่อย เพราะแม้อายุจะได้ 15 ปีแล้ว ก็ยังไม่เคยจะเข้าโรงเรียนเลย ต้องทำหน้าที่ขับรถถ่านหินเรื่อยไป จนกระทั่งอายุ 21 ปี จึงได้แต่งงาน และมีลูกชายคนหนึ่ง แต่ต่อมาภรรยาของเขาถึงแก่กรรม เขาต้องตกเป็นหม้ายเลี้ยงลูกคนเดียว
และในระยะนี้เอง ยอร์จได้ถือโอกาสเข้าศึกษาในโรงเรียนผู้ใหญ่ ขณะที่พักงานตอนกลางคืน และเหตุ ที่จะทำให้เขากลายเป็นคนมีชื่อเสียง และได้รับการยกย่องว่าเป็นนักประดิษฐ์รถไฟคนแรก ก็เห็นจะเป็นด้วย หน้าที่ขับรถของเขานี่เอง ทำให้เขาสนใจในเรื่องกลไกและเครื่องยนต์ของรถเป็นพิเศษ และเมื่อพบกับปัญหา เรื่องหนังสือ ซึ่งเขาปรารถนาจะเรียนรู้ในทฤษฎีทางนี้ เขาจึงต้องขวนขวายเข้าเรียนจนได้ โดยไม่คิดกระดากอายว่า โตแล้วทั้งยังมีบุตรแล้วอีกด้วย แต่กลับคิดมุมานะศึกษาจนกระทั่งพออ่านออกเขียนได้ และได้ใช้เป็น ประโยชน์ในการที่เขาได้ศึกษาวิชาหรือตำราทฤษฏีในเครื่องยนต์กลไกได้เป็นอย่างดี
อาศัยความจำเจ อยู่กับเครื่องยนต์กลไกต่าง ๆ มากเข้า เขาก็สามารถที่จะแก้ไขและซ่อมอุปกรณ์ ต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับเครื่องยนต์ได้ดี เช่น ครั้งหนึ่ง เขาได้แก่เครื่องยนต์สูบน้ำของโรงงานที่เสีย จนใช้การได้ดีและ ได้รับรางวัลตอบแทนเป็นเงิน 10 ปอนด์ ทั้งได้เลื่อนฐานะขึ้นเป็นคนคุมเครื่องยนต์ และเครื่องกลไกของโรงงาน อีกด้วย ขณะนั้น ยอร์จมีรายได้ประมาณ 100 ปอนด์ ซึ่งนับว่าเป็นรายได้ที่ทำให้เขามีความสุขขึ้นบ้างแล้ว ไม่ลำบากเหมือนสมัยเล็ก ๆ
อันที่จริง จะเรียกว่า ยอร์จเป็นผู้ประดิษฐ์รถไฟหรือรถจักรไอน้ำขึ้นคนแรก ก็ยังไม่ถูกทีเดียวนัก แต่ เหตุที่เขาได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้ประดิษฐ์รถไฟคนแรก ก็น่าจะเป็นด้วยว่า ผลงานประดิษฐ์ของเขาซึ่งมาตามหลังของผู้ประดิษฐ์คนก่อน ๆ นั้น สามารถออกใช้การสู่สายตาประชาชนได้อย่างดี ทั้งสามารถออกใช้การสู่ สายประชาชนได้อย่างดี ทั้งสามารถรับขนส่งพัสดุและคนโดยสารเดินทางไปไหนมารไหนได้ไกล ๆ นั่นเอง
เพราะในระยะก่อนหน้านั้น ได้มีนักประดิษฐ์ชาติต่าง ๆ ประดิษฐ์ใช้ไอน้ำขึ้นได้แล้ว เช่น ในปี ค.ศ. 1170 ได้มีวิศวกรชาวฝรั่งเศษคนหนึ่ง ชื่อ คักนอต คิดสร้างรถใช้ไอน้ำเป็นกำลังขึ้นได้ แต่เมื่อทดลองนำออกวิ่ง รถแล่นไปชนกำแหงพัง นักประดิษฐ์ผู้นั้นก็เลยหยุดชะงักการสร้างต่อไป
วิศวกรชาวสก๊อตแลนด์อีกผู้หนึ่งชื่อ ซีมิงตัน คิดสร้างเรือไฟขึ้นได้ก่อน แล้วต่อมาคิดสร้างรถจักรไอน้ำสำเร็จแต่ไม่สามารถจะนำออกไปใช้งานเป็นประโยชน์ต่อประชาชนได้ เนื่องจากน้ำหนักของตัวรถหนักมาก ถ้านำออกแล่นบนถนนก็คงทำให้ถนนพังหรือยุบลงไปเสียก่อนที่จะแล่นไปถึงจุดหมาย เป็นอันต้องล้มเลิกไป
ต่อมาปี ค.ศ 1800 วิศวกรชาวอังกฤษอีกผู้หนึ่งชื่อ ริชาร์ด เทรเวทิค เป็นชาวเมืองคลอวอล ได้คิดสร้างรถไอน้ำ 4 ล้อขึ้น ค่อนข้างจะใช้การได้ดีกว่ารถผู้ประดิษฐ์รั้งสองคนแรก แต่จะนำไปวิ่งบนถนนเรียบ ๆ ก็ไม่ได้เหมือนกัน เพราะน้ำหนักรถมาก จึงได้ดัดแปลงใช้รางรับเป็นนางไม้สำหรับให้รถวิ่ง และต่อมาจึงได้คิดสร้างรางเหล็กขึ้นแทน ขณะเดียวกัน ริชาร์ด เทรเวทิค ก็ได้ปรับปรุงรถของเขาให้ดีขึ้นนำใช้วิ่งในร่างเหล็กได้สะดวก จนถึงปี ค.ศ. 1804 จึงได้นำไปใช้เป็นรถในบ่อถ่านหินทางแคว้นเวลส์ได้ แต่ก็ยังไม่ดีขึ้นดีเดียวนัก จนกระทั่งต่อมานักประดิษฐ์คนหนึ่งชื่อ เบลนดีนซอฟ ได้คิดสร้างรางเหล็กชนิดเป็นร่องขึ้น ทำให้รถแล่นได้ดีขึ้นกว่าเดิม และนำไปใช้ในบ่อถ่านหินทางเมืองลีดส์
และรถไอน้ำที่ริชาร์ด ประดิษฐ์ขึ้นนี้ ก็ได้นำมาใช้ในบ่อถ่านหินทางอีลัม ใกล้กับที่พักของ ยอร์จ สตีเฟนสันด้วย ยอร์จึงได้มีโอกาสเลียบเคียงเข้าไปสังเกต และพยายามเรียนรู้ถึงลักษณะของเครื่องจักรต่าง ๆ เหล่านั้น จนกระทั่งเขาเกิดความคิดว่ารถชนิดนี้เขาสามารถจะประดิษฐ์ขึ้นได้และอาจจะประดิษฐ์ได้ดีกว่าด้วยซ้ำ
เขาจึงได้นำความคิดนี้ มาบอกเล่าแก่เจ้าของบ่อถ่านหินที่คิลลิงเวิธแห่วหนึ่ง เพื่อขอความร่วมในการออกทุนให้เขาสร้าง เจ้าของบ่อถ่านหินเกิดศรัทธา ยอมเป็นนายทุนให้เขา ยอร์จจึงลงมือสร้างตามเค้าโครง เขาซึ่งคิดขึ้น เขาใช้เวลาอยู่ 10 เดือนจึงสำเร็จ
วันที่เขาสร้างรถจักรไอน้ำขึ้นสำเร็จเป็นคันแรก คือวันที่ 25 กรกฎาคม ค.ศ. 1814 ลักษณะของตัวรถเป็นไม้มีล้อเหล็ก 4 ล้อ และมีปล่องระบายควันไฟสูง สามารถลากรถหนักสามสิบตันขึ้นไปได้ในระยะความเร็วถึงชั่วโมงละ 4 ไมล์ เขาให้ชื่อรถจักรคันแรกนี้ว่า “บลูเชอร์” ซึ่งเป็นนามของแม่ทัพเยอรมันผู้มีชื่อเสียงคนหนึ่ง
รถจักรคันแรกของยอร์จ สตีเฟนสัน ยังไม่ดีทีเดียวนัก เพราะกำลังแรงม้าไม่ดีไปกว่าการใช้ลากเท่าไรนัก เหตุนี้เขาจึงพยายามปรับปรุงแก้ไขเรื่อย ๆ ซึ่งขณะเดียวกัน ยอร์จจึงได้คิดสร้างโคมไฟที่ใช้สำหรับกรรมกรบ่อถ่านหินขึ้นสำเร็จด้วย ในวิธีประดิษฐ์แบบเดียวกับที่เซอร์ ฮัมฟรีเดวี คิดประดิษฐ์ขึ้นได้ และดูเหมือนว่าจะเป็นระยะเวลาเดียวกันกับที่เดวีประดิษฐ์ขึ้นเสียด้วย ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ด้วยกันอาจจะแปลกใจวส่า ยอร์จเอาความรู้มาจากไหน ในเมื่อเขาไม่มีความรู้ในทางเคมีหรือฟิสิคส์เลย แต่เหตุไฉนเขาจึงสามารถประดิษฐ์ขึ้นได้ ในช่วงระยะเวลาเดียวกันกับที่เดวีคิดสร้างได้สำเร็จ และโคมไฟหรือตะเกียงที่ใช้ในบ่อถ่านหินของยอร์จนี้ก็ได้ชื่อว่า “จอร์ดี” เป็นที่ระลึก
ในสมัยนั้น ถ่านหินนับว่าเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งซึ่งทางกรุงลอนดอนต้องใช้เป็นจำนวนมาก และ การขนส่งก็ต้องใช้วิธีลำเลียงทางเรือเป็นส่วนใหญ่ บ่อถ่านหินที่อยู่ใกล้ท่าเรือหรือชายน้ำก็ไม่เท่าไรนัก แต่บ่อถ่านหินที่อยู่ตามหัวเมืองไกลชายน้ำ เช่นดาร์ลิงตันเป็นต้น ซึ่งต้องอาศัยรถม้าบรรทุกขนส่งเป็นระยะไกล จึงได้เกิดความคิดขึ้นสองทางคือหนึ่งคิดจะขุดคลอง และอีกวิธีหนึ่งคือสร้างทางรถไฟขึ้น ซึ่งวิธีหลังนี้มีผู้เห็นชอบหลายคน
ด้วยเหตุนี้ ชาวอังกฤษผู้หนึ่งซึ่งเป็นบุคคลสำคัญในวงการอุตนสาหกรรมค้าถ่านหินชื่อ เอ็ดเวิด พีส ได้พยายามวิ่งเต้นให้มีการจัดสร้างทางรถไฟขึ้น ซึ่งในที่สุดรัฐสภาก็ได้ออกกฎหมายให้สร้างทางรถไฟระหว่างเมืองสต๊อคตันและดาร์ลิงตันขึ้น เพื่อให้ใช้เป็นทางคมนาคมในการขนส่งถ่านหินและสินค้าอื่น ๆ ด้วย
ความคิดดังกล่าวนี้ ในขั้นแรกก็คิดเพียงแต่จะขนส่งถ่านหินเหล็กและข้าวโพดรวมทั้งฝ้ายด้วยเท่านั้น ไม่มีใคร่คำนึงถึงผู้โดยสารเพราะไม่มีใครอยากจะนั่งไปกับรถโดยสารสกปรกที่ขนส่งพวกถ่านหิน และดูเหมือน ว่าจะไม่มีใครคำนึงถึงเรื่องรถจักรด้วยซ้ำ เพราะเวลานั้นยังใช้ม้าลากขบวนรถบรรทุกสินค้าให้แล่นไปตามรางอยู่
ด้วยเหตุนี้ ความคิดของยอร์จ สตีเฟนสัน ในขั้นแรกที่ว่า เมื่อสร้างรถไฟแล้ว จะเอาไปเดินที่ไหนด้วยเวลานั้นก็เห็นแต่ประโยชน์ในการขนส่งถ่านหินในบ่อถ่านหินเท่านั้น เมื่อยอร์จ สตีเฟนสัน เกิดความคิดว่ารถไฟของเขาควรจะได้ใช้ประโยชน์แก่กิจการอื่น ๆ ด้วย ไม่เฉพาะแต่การขนส่งถ่านหินอย่างเดียว เขาจึงเดินทางไปหาเอ็ดเวิธ พีส ซึ่งเป็นผู้วิ่งเต้นในการจัดสัมปทานทางเดินของรถไฟนี้ ชี้แจงอ้างเหตุผลถึประโยชน์ของรถไฟที่เขาสร้างขึ้นให้ท่านผู้นี้ฟังจนเอ็ดเวิด พีส เกิดศรัทธา เดินทางมาดูรถไฟด้วยเงินปีละ 300 ปอนด์ จนกระทั่ง ยอร์จสร้างเสร็จแล้ว เขาเองเป็น พ.ข.ร. ของรถจักรที่เขาสร้างลากขบวนรถไฟเป็นครั้งแรก ออกจากสถานีเมืองดาร์ลิงตันไปยังสต๊อคตัน เมื่อวันที่ 17 กันยายน ค.ศ. 1825 แต่เป็นเพียงการขนส่งสินค้าต่าง ๆ เท่านั้น ยังไม่มีรถโดยสารสำหรับบรรทุกผู้โดยสาร หรือยังไม่มีใครศรัทธา จะโดยสารรถไฟเท่านั้น ต่อเมื่อ ภายหลังได้มีการพิสูจน์แล้วว่ารถไฟสามารถวิ่งได้เร็วกว่าม้าลาก และไม่เคยปรากฏอุบัติขึ้นด้วย ฉะนั้น ประชาชนจึงหันมาสนใจโดยสารรถไฟขบวนนี้มากขึ้นเป็นลำดับ จนกลายเป็นรถโดยสารและรถบรรทุกสินค้าร่วมในขบวน เดียวกันเป็นประจำ
รถไฟสายที่จำเป็นต้องสร้างเพิ่มขึ้น ในระยะต่อมาก็คือ สายลิเวอร์พลู – แมนเซสเตอร์ ซึ่งมีการขนส่งฝ้ายมากกว่าทุก ๆ เมืองเป็นประจำ งานสร้างรถไฟสายนี้ จึงตกเป็นของยอร์จ สตีเฟนสันอีกครั้งหนึ่ง แม้ว่าในชั้นแรก จะพบอุปสรรคนานาประการในการสร้างสายนี้ ด้วยเหตุที่เจ้าของรถม้า และเจ้าของที่ดินต่าง ๆ พากันขัดขวางแต่ยอร์จ ก็สามารถโต้แย้งและชี้แจงให้เห็นถึงประโยชน์และคุณค่าของรถไฟให้รัฐสภายอมอนุมัติให้สร้างได้ และรัฐสภาประกาศใช้กฤษฎีกาจัดสร้างรถไฟสายนี้ เมื่อปี ค.ศ. 1826
ครั้งนี้ ยอร์จได้ประดิษฐ์รถจักรของเขาขึ้นใหม่ ตามแนวความคิดของเขา ซึ่งมีกำลังสูงสุดถึงชั่วโมงละ 29 ไมล์ และกำลังปกติชั่วโมงละ 15 ไมล์ การเปิดทางรถไฟสายนี้ เพื่อให้รถจักรขบวนแรกออกเดินทางคือ ปี ค.ศ. 1829
ในการทำพิธีเปิดการเดินรถไฟสายนี้ ปรากฏว่ามีผู้มีเกียรติหลายท่านไปร่วมพิธีด้วยกัน และผู้ที่ทำหน้าที่ประธานในการทำพิธีเปิดคือ ดยุค อ๊อฟ เวลลิงตันซึ่งขณะนั้น ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ขบวนรถขบวนแรกประกอบด้วยหัวรถจักร และรถโดยสารมีด้วยกันทั้งหมด 8 คัน แต่ก็มีข่าวที่น่าสลดใจอยู่ด้วยในงานนี้ ที่ปรากฏว่า รัฐมนตรีผู้หนึ่งชื่อ ฮัสคิสสัน ได้ถูกรถไฟขบวนนี้ชนถึงแก่ความตาย ในขณะที่ท่านรัฐมนตรีก้าวลงจากรถไปหาท่านนายกรัฐมนตรี
ผลงานของเขาในระยะต่อมานั้น เขาได้จัดสร้างรถไฟในประเทศอังกฤษขึ้นอีกหลายสาย โดยมีโรเบิร์ตสตีเฟนสัน บุตรชายของเขาเป็นผู้ช่วยเหลืออยู่ด้วย รถขบวนทุกผู้โดยสารขบวนแรกของเขา ในปี ค.ศ. 1825 นั้นเขาให้ชื่อว่า “แอคตีฟ” และได้เปลี่ยนชื่อใหม่ว่า “โลโคโมชั่น” ส่วนขบวนที่ใช้เริ่มเดิมครั้งแรกจาก ลิเวอร์พลู – แมนเซสเตอร์นั้นชื่อ “รอคเก็ท”
ยอร์จ สนีเฟนสัน ถึงแก่กรรมเมื่อ 12 สิงหาคม ค.ศ. 1848 ที่เชสเตอร์ฟิลด์

Leave a comment