Archive | March, 2012

ข้อมูล คำยอด

30 Mar

รูปที่2

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Youngia japonica   (L.) DC.

ชื่อวงศ์ :  ASTERACEAE (COMPOSITAE)

ลักษณะ : ไม้ล้มลุก สูงถึง 60 ซม. ใบ เดี่ยว เรียงรอบโคนต้นใกล้พื้นดิน รูปไข่กลับแกมขอบขนาน กว้าง 1-5.5 ซม. ยาว 3-10 ซม. ปลายใบเป็นติ่งแหลม ขอบใบหยักห่างๆ ผิวใบมีขนสั้นประปราย ดอก สีเหลือง ออกเป็นช่อจากปลายยอด แผ่บานคล้ายเป็นวงกลม ขนาด 0.7-1.3 ซม. ใบประดับช่อดอกสีเขียว เรียงซ้อนกัน ดอกย่อย เป็นกระจุกแน่น กลีบดอกรูปแถบ ปลายกลีบหยัก 5 แฉก ผล ขนาดเล็ก ลักษณะแคบยาว สีน้ำตาล ส่วนปลายแหลมและ มีขนหุ้มสีขาว

การกระจายพันธุ์ : ประเทศอินเดียถึงญี่ปุ่น ประเทศไทยพบทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่ระดับ ความสูง 200-2,000 เมตร ออกดอกช่วงเดือนมกราคม-เมษายน

ประโยชน์ : ต้นอ่อนทำให้สุกนำมารับประทานเป็นผักได้

ข้อมูล กัลปพฤกษ์

28 Mar

รูปที่1

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cassia bakeriana   Craib

ชื่อวงศ์ : CAESALPINIACEAE

ชื่ออื่นๆ : กานล์ Wishing Tree, Pink Shower

ลักษณะ : ไม้ต้น ผลัดใบช่วงสั้นๆ สูงได้ถึง 10 ม. กิ่งอ่อนมีขนนุ่มหนาแน่น ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก มีใบย่อย 5-7 คู่ รูปขอบขนาน กว้าง 1.5-3 ซม. ยาว 6-8 ซม. โคนและปลายใบมน ดอกสีชมพู ออกเป็นพวง ก้านช่อสีออกเหลืองมีขนนุ่ม ยาว 5-12 ซม. กลีบรองดอก 5 กลีบ รูปไข่แคบๆ กลีบดอก 5 กลีบ รูปไข่ ขนาดกว้าง 1-2.5 ซม. ยาว 3.5-4.5 ซม. เกสรผู้ 10 อัน ยาว 3 อัน มีต่อมที่โคนและสั้น 4 อัน กับที่เป็นหมันอีก 3 อัน ผลเป็นฝักสีน้ำตาลเข้มอมเทา รูปทรงกระบอก ยาว 30-40 ซม. เส้นผ่าศูนย์กลาง 1-1.5 ซม.

การกระจายพันธุ์ : พบในประเทศพม่าและทางเหนือของประเทศไทย ตามป่าเต็งรัง ที่ระดับความสูง 300-1,000 ม. ออกดอกและติดผลช่วงเดือนมกราคม-มิถุนายน

ประโยชน์ : ฝักใช้เป็นยาระบายอย่างอ่อน

ข้อมูล สบู่เลือด

27 Mar

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Jatropha gossypifolia  L.
วงศ์ : Euphorbiaceae
ชื่อสามัญ : 
Bellyache BushCotton Leafed Jatropha
ชื่ออื่น :    ละหุ่งแดง (กลาง) สบู่แดง (กลาง) สบู่เลือด สลอดแดง สีลอด หงษ์เทศ (ปัตตานี)

ลีกษณะ :  เไม้พุ่มสูง 1-2 เมตร ลำต้นสั้นและมีกิ่งก้านแผ่ออกไป บริเวณยอดมีขน และมีตุ่มเล็กๆ ที่มียางสีเหลืองใสเหนียว ใบมี 3-5 แ©กและมีตุ่มเหนียว ใบอ่อนสีม่วงเข้มหรือสีน้ำตาลแดง ดอกเล็กสีแดงเข้มและมีสีเหลืองอยู่ตรงกลาง ผลรูปรียาวมี 6 ร่อง สีเขียวเมื่อแห้งเป็นสีน้ำตาล และเมื่อแก่จะแตกออกเป็น 3 ส่วน เมล็ดมี 3 เมล็ด สีดำ
ประโยชน์
 
ใบส่วนยอดสีแดงม่วงใช้เป็นวัตถุดิบให้สีย้อมเส้นไหมให้สีเขียวอมเหลือง  ในทางสมุนไพร ใบต้มรับประทานแก้ปวดท้อง  แก้ไข้ ตำพอกแก้ฝี แก้ผื่นคัน เมล็ด เป็นยาระบาย ทำให้อาเจียน ตำพอกทาแผลโรคเรื้อน รากมีสาร Jatrophine ซึ่งเป็นพิษแแรง

ข้อมูล แคว้นสิบสองจุไทย

16 Mar

ภาพ:Yuijkh.JPG

ประวัติความเป็นมา

ในพงศาวดารเมืองแถง(แถน) กล่าวถึง การกำเนิดมนุษย์และถิ่นกำเนิดของชาวภูไทว่า เกิดจากเทพสามีภรรยา 5 คู่ ซึ่งเป็นพี่น้องกัน เมื่อหมดอายุบนสวรรค์จึงอธิษฐานจิตเนรมิตน้ำเต้าขึ้นมา เทพทั้ง 5 คู่ ก็เข้าไปอยู่ในน้ำเต้า น้ำเต้าลอยจากสวรรค์มาตกบนภูเขาที่ทุ่งนาเตา ซึ่งอยู่ห่างจากเมืองแถงไปทางตะวันออกเป็นระยะทางเดิน 1 วัน น้ำเต้าได้แตกออก เทพได้กลายเป็นมนุษย์ 5 คู่ ออกมาจากน้ำเต้าทีละคู่ตามลำดับ คือ ข่า แจะ ภูไท ลาวพุงขาว ฮ่อ(จีน) และแกว(ญวน) ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของมนุษย์ 5 เผ่าพันธุ์

ในเวลาต่อมาคนเหล่านี้ได้แยกย้ายกันตั้งรกรากในพื้นที่ต่าง ๆสำหรับชาวภูไทตั้งบ้านเรือนที่เมืองแถง มีขุนลอคำเป็นหัวหน้า ประชากรของภูไทได้เพิ่มจำนวนถึง 33,000 คนในเวลาต่อมา และขยายตัวไปตั้งรกรากหลายเมือง ขุนบรมราชบุตรของขุนลอคำ ได้เป็นเจ้าเมืองแถงใน พ.ศ. 1274 ขุนลอบุตรของขุนบรมราชาได้มาตั้งเมืองหลวงพระบางใน พ.ศ. 1283จากพงศาวดารเมืองไล กล่าวว่า ชาวภูไท ในดินแดนนี้ 2 พวกคือ

1. ภูไทขาว อาศัยอยู่เมืองเจียน เมืองมุน เมืองบาง มีเมืองไลเป็นเมืองใหญ่ รวม 4 เมือง ดินแดนแถบนี้อยู่ใกล้ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน อากาศหนาว ชาวภูไทจึงมีผิวขาว อีกทั้งได้รับอารยธรรมจากจีน โดยเฉพาะการแต่งกายในพิธีศพ ซึ่งนิยมนุ่งขาว ห่มขาว จึงเรียกชาวภูไทกลุ่มนี้ว่า “ภูไทขาว”

2. ภูไทดำ อาศัยอยู่เมือง ควาย,เมืองคุง เมืองม่วย, เมืองลา เมืองโมะเมืองหวัด เมืองซาง มีเมืองแถง(แถน) เป็นเมืองใหญ่ รวมเป็น 8 เมือง ชาวภูไทกลุ่มนี้มีผิวคล้ำกว่าภูไทตอนบน และนิยมแต่งกายด้วยผ้าพื้นเมืองย้อมครามเข้ม และอาศัยอยู่บริเวณแม่น้ำดำ ซึ่งเป็นแหล่งเกษตรกรรม จึงเรียกว่า “ภูไทดำ”

ชาวภูไททั้ง 2 กลุ่ม รวมกันแล้วเป็น 12 เมือง จึงเรียกว่า แคว้น “สิบสองจุไทย” เมืองไล เมืองของชาวภูไทขาว ตั้งอยู่ในดินแดนคาบเกี่ยว หรือตะเข็บของลาว จีน และญวน เพื่อความอยู่รอด เมืองนี้จึงจำเป็นต้องอ่อนน้อมแก่ทั้ง 3 ฝ่าย ต้องส่งส่วยแก่ทุกฝ่ายเดิมแคว้นสิบสองจุไทย ขึ้นกับอาณาจักรน่านเจ้า ครั้นต่อมาไปขึ้นอยู่กับอาณาจักรโยนกเชียงแสน เมื่ออาณาจักรโยนกเชียงแสน ถูกพวกภูไทมาทำลายลง สิบสองจุไทยได้ไปขึ้นกับแคว้นหิรัญเงินยวง (ต่อมาแคว้นนี้เป็นเมืองขึ้นของอาณาจักรลานนา)

ใน พ.ศ.2250 อาณาจักรล้านช้างได้แตกเป็น 2 อาณาจักร คือทางเหนือ เรียกว่า อาณาจักรล้านช้างร่มขาวหลวงพระบาง ทางใต้ เรียกว่า อาณาจักรล้านช้างร่มขาวเวียงจันทน์ สิบสองจุไทยอยู่ภายใต้การดูแลของอาณาจักรแรกต่อมาบังเกิดการอัตคัดอดอยาก และความขัดแย้งระหว่างท้าวก่า หัวหน้าของชาวภูไท กับเจ้าเมืองนาน้อยอ้อยหนู (น้ำน้อยอ้อยหนู) ท้าวก่าจึงพา ชาวภูไทเป็นจำนวนมาก (ประมาณหมื่นคน) อพยพจากเมืองนาน้อยอ้อยหนูมาขอขึ้นกับเวียงจันทน์ โดยทางเวียงจันทน์ให้ไปตั้งถิ่นฐานที่เมืองวัง (อยู่ทางตะวันออกของเมืองมุกดาหาร ห่างประมาณ 150 กิโลเมตร) ชาวภูไทกลุ่มนี้ ได้ส่งส่วยมีดโต้และขวานให้เวียงจันทน์ ปีละ 500 เล่ม แต่เนื่องจากเมืองวังอยู่ชายแดนอาณาจักรล้านช้างร่มขาวเวียงจันทน์ แต่ใกล้พรมแดนเวียดนาม พวกเขาจึงได้ส่งส่วยขี้ผึ้ง 5 ปึก (ปึกหนึ่งหนัก 5 ชั่ง) ให้แก่ เจ้าเมืองคำรั้วของเวียดนามด้วย

[แก้ไข] การอพยพของชาวภูไทเข้าสู่ประเทศไทย มี 3 ระลอกด้วยกันคือ

[แก้ไข] ระลอกที่ 1 สมัยธนบุรี ระหว่าง พ.ศ. 2321-2322

เมื่อกองทัพไทยซึ่งมีเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก (รัชกาลที่ 1) กับเจ้าพระยาสุรสีห์ (บุญมา) ได้นำกองทัพไทยสองหมื่นคนตีหัวเมืองลาว ตั้งแต่จำปาศักดิ์ถึงเวียงจันทน์เอาไว้ได้ หลวงพระบางซึ่งไม่ถูกกับเวียงจันทน์มาก่อนก็นำกำลังมาช่วยตีเวียงจันทน์ด้วย แม่ทัพไทยได้ให้กองทัพหลวงพระบางไปตีเมืองทันต์ (ญวนเรียก ซือหวี)เมืองมวย ซึ่งเป็นเมืองของชาวภูไทดำได้ทั้งสองเมือง แล้วกวาดต้อนชาวภูไทดำ(ลาวทรงดำ) เป็นจำนวนมากมาตั้งถิ่นฐานที่เมืองเพชรบุรี นับเป็นชาวภูไทรุ่นแรกที่มาตั้งถิ่นฐานในประเทศไทย

[แก้ไข] ระลอกที่ 2 สมัยรัชกาลที่ 1 ใน พ.ศ. 2335

กองทัพเวียงจันทน์ตีหลวงพระบางแตกและจับกษัตริย์หลวงพระบางส่งกรุงเทพ ฯ ใน พ.ศ.2335-2338 กองทัพเวียงจันทน์ได้ตีเมืองแถง และเมืองพวน ซึ่งแข็งข้อต่อเวียงจันทน์ กวาดต้อนชาวภูไทดำ ลาวพวนเป็นเชลยส่งมากรุงเทพ ฯ รัชกาลที่ 1 ทรงมีรับสั่งให้ชาวภูไทดำประมาณ 4,000 คนไปตั้งถิ่นฐานที่เพชรบุรีเช่นเดียวกับชาวภูไทดำรุ่นแรก

[แก้ไข] ระลอกที่ 3 สมัยรัชกาลที่ 3

เป็นการอพยพประชากรครั้งใหญ่ที่สุดจากฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงเข้ามาอยู่ในประเทศไทย สาเหตุของการอพยพ คือ เกิดกบฎเจ้าอนุวงศ์ใน พ.ศ. 2369 – 2371 และเกิดสงครามระหว่างไทยกับเวียดนามในระหว่างปี พ.ศ.2376-2490 ยุทธวิธีของสงครามสมัยนั้น คือ การตัดกำลังฝ่ายตรงข้ามทั้งฝ่ายไทยและเวียดนามต่างกวาดต้อนประชากรในดินแดนลาวมาไว้ในดินแดนของตนสำหรับประชากรในดินแดนลาวที่ถูกไทยกวาดต้อนมาอยู่ในประเทศไทยจะมีทั้ง ภูไท กะเลิง โซ่ ญ้อ แสก โย้ย ข่า ซึ่งส่วนใหญ่จะถูกกวาดต้อนมาไว้ในภาคอีสาน ส่วนลาวพวน ลาวเวียง กวาดต้อนให้มาตั้งถิ่นฐานทั้งในภาคอีสานและภาคกลางของประเทศไทย แถบฉะเชิงเทรา ชลบุรี นครนายก ปราจีนบุรี สระบุรี ลพบุรี สุพรรณบุรี เพชรบุรี ราชบุรี นครปฐม เป็นต้นชาวภูไทที่ถูกกวาดต้อนมาในระลอกที่ 3 จะแยกเป็น 8 กลุ่มด้วยกัน

[แก้ไข] สำหรับชาวภูไทในเขตจังหวัดสกลนคร เป็นพวกที่อพยพเข้ามาในกลุ่มที่ 3 และกลุ่มที่ 8 ดังนี้

[แก้ไข] กลุ่มที่ 3 อพยพมาจากเมืองวัง

มาตั้งถิ่นฐานที่เมืองพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร (ใน พ.ศ.2513 อำเภอพรรณานิคม มี 7 ตำบล มีชาวภูไททั้ง 7 ตำบล รวม 65หมู่บ้าน 32,037 คน อำเภอเมืองสกลนคร มีภูไท 48 หมู่บ้าน ใน 13 ตำบล จาก 17 ตำบล อำเภอพังโคน มีภูไท 4 ตำบล 23 หมู่บ้าน อำเภอบ้านม่วง มีภูไท 3 ตำบล 16 หมู่บ้าน อำเภอวานรนิวาส มีภูไท 4 ตำบล 8 หมู่บ้าน อำเภอกุสุมาลย์ 2 ตำบล 4 หมู่บ้านอำเภอสว่างแดนดิน 2 ตำบล 3 หมู่บ้าน อำเภอกุดบาก 1 ตำบล 3 หมู่บ้าน อำเภอวาริชภูมิ 4 ตำบล 42 หมู่บ้าน รวมทั้งจังหวัดสกลนครมีภูไท 212 หมู่บ้าน 20,945 หลังคาเรือน 128,659 คน)

[แก้ไข] กลุ่มที่ 8 อพยพจากเมืองกะป๋อง

มาตั้งถิ่นฐานที่บ้านปลาเป้า บ้านนียกเป็นเมืองวาริชภูมิ และตั้งท้าวพระยาสุวรรณเป็นพระสุรินทรบริรักษ์ เป็นเจ้าเมืองคนแรก ใน พ.ศ. 2410 ปลายสมัยรัชกาลที่ 4 (ใน พ.ศ.2513 มีภูไทในอำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร 4 ตำบล ตำบลวาริชภูมิ 1 หมู่บ้าน ตำบลคำบ่อ 12 หมู่บ้าน ตำบลปลาโหล 9 หมู่บ้าน และตำบลเมืองลาด 7 หมู่บ้าน รวม 42 หมู่บ้าน)ชาวภูไทที่ถูกกวาดต้อน-อพยพมาตั้งภูมิลำเนา ในจังหวัดสกลนคร อย่างเป็นปึกแผ่น ได้รับความร่มเย็นเป็นสุข หัวหน้าแต่ละพวกที่แยกย้ายกันอยู่ ได้ติดต่อปรึกษากับเจ้าเมืองที่ตนอาศัยอยู่เพื่อขอตั้งเมือง เช่น เจ้าเมืองโฮงกลางสี ที่อยู่บ้านพังพร้าว ท้าวแก้ว อยู่ที่บ้านจำปา และท้าวราชนิกุล อยู่บ้านหนองหอย ก็ติดต่อกับเจ้าเมืองสกลนคร เพื่อตั้งหมู่บ้านที่ตนตั้งภูมิลำเนาอยู่เป็นเมือง คือ บ้านพังพร้าว ขอตั้งเป็นเมืองพรรณานิคมบ้านจำปา ขอตั้งเป็นเมืองจำปาชนบท และบ้านหนองหอย ขอตั้งเป็นเมืองวาริชภูมิ เป็นต้นสำหรับชาวภูไททั้ง 8 กลุ่ม ได้ขยายจำนวนออกไปตั้งถิ่นฐานในพื้นที่ต่าง ๆ ของภาคอีสานอย่างกว้างขวางในเวลาต่อมา รวมเป็น 9 จังหวัด 33 อำเภอ 494 หมู่บ้าน สรุปได้ดังนี้

  1. จังหวัดสกลนคร 212 หมู่บ้าน 9 อำเภอ(พรรณานิคม เมืองสกลนครวาริชภูมิ พังโคน บ้านม่วง วานรนิวาส กุสุมาลย์ สว่างแดนดิน กุดบาก)
  2. จังหวัดนครพนม 131 หมู่บ้าน 5 อำเภอ (นาแก เรณูนคร ธาตุพนม ศรีสงคราม เมืองนครพนม)
  3. จังหวัดมุกดาหาร 68 หมู่บ้าน 5 อำเภอ (คำชะอีก เมืองมุกดาหาร นิคมคำสร้อย ดอนตาล หนองสูง)
  4. จังหวัดกาฬสินธุ์ 63 หมู่บ้าน 5 อำเภอ (เขาวง กุฉินารายณ์ คำม่วง สมเด็จ สหัสขันธ์)
  5. จังหวัดหนองคาย 6 หมู่บ้าน 3 อำเภอ(โซ่พิสัย บึงกาฬ พรเจริญ)
  6. จังหวัดอำนาจเจริญ 5 หมู่บ้าน 2 อำเภอ (เสนางคนิคม ขานุมาน)
  7. จังหวัดอุดรธานี 5 หมู่บ้าน 2 อำเภอ (วังสามหมอ ศรีธาตุ)
  8. จังหวัดยโสธร 3 หมู่บ้าน 1 อำเภอ (เลิงนกทา)
  9. จังหวัดร้อยเอ็ด 1 หมู่บ้าน (โพนทอง)

[แก้ไข] วัฒนธรรมการแต่งกาย

 

โดยลักษณะทางสังคม ชาวภูไท(ผู้ไทย) เป็นกลุ่มที่มีความขยัน และอดออมเป็นพิเศษ และมีวัฒนธรรมในเรื่องการถักทอเสื้อผ้าเด่นชัด จึงปรากฎเสื้อผ้าชนิดต่างๆ ทั้งฝ้าฝ้าย ผ้าไหมในกลุ่มชาวภูไท(ผู้ไทย) โดยเฉพาะผ้าแพรวานับว่ามีวัฒนธรรมเรื่องเสื้อผ้าเด่นชัดมาก

ผ้าซิ่น วัฒนธรรมของกลุ่มภูไทที่เด่นชัด คือ การทอผ้าซิ่นหมี่ตีนต่อเป็นผืนเดียวกับผ้าผืน เช่น ตีนต่อขนาดเล็ก กว้าง 4 ถึง 5 นิ้ว (มือ) ที่เรียกว่า ตีนเต๊าะ เป็นที่นิยมในหมู่ภูไท ทอเป็นหมี่สาด มีหม้อย้อมคราม จนเป็นสีครามเกือบเป็นสีดำ แต่ชาวบ้านเรียกว่า“ผ้าดำ” หรือซิ่นดำ ลักษณะเด่นของซิ่นหมี่ชาวภูไท คือการทอและลวดลาย เช่น ทอเป็นลายขนาดเล็กๆ นอกจากนี้มีลายอื่น ๆ เช่น หมี่ปลา หมี่ตุ้ม หมี่กระจัง หมี่ข้อ ทำเป็นหมี่คั่น มิได้ทอเป็นหมี่ทั้งผืน แต่หากมีลายต่าง ๆ มาคั่นไว้ สีที่นิยมคือ สีเขียว สีน้ำเงิน สีแดง สีม่วง พื้นมักใช้เครือหูกฝ้ายสีเปลือกอ้อย นอกจากนี้ยังพบผ้ามัดหมี่ฝ้ายขาวสลับดำในกลุ่มผู้ไทย

เสื้อ นิยมทำเป็นเสื้อแขนกระบอกสามส่วนติดกระดุมธรรมดา กระดุมเงิน หรือเหรียญสตางค์ เช่น เหรียญสตางค์ห้า สตางค์สิบ มาติดเรียงเป็นแถว นิยมใช้เป็นผ้าย้อม ครามเข้มใน ราว พ.ศ. 2480 โดยมีผู้นำผ้าขลิบแดงติดชายเสื้อ เช่น ที่คอสาบเสื้อปลายแขนเพื่อใช้ในการฟ้อนภูไทสกลนคร และใช้กันมาจนถึงปัจจุบัน

ผ้าห่ม การทอผ้าผืนเล็ก ๆ เป็นวัฒนธรรมของชาวกลุ่มพื้นอีสานมานานแล้วผ้าห่มใช้สำหรับห่มแทนเสื้อกันหนาว ใช้คลุมไหล่ เช่นเดียวกับไทยลาวที่นิยมใช้ผ้าขาวม้าพาดไหล่ ผ้าห่มของกลุ่มชนต่าง ๆ ในเวลาต่อมามีขนาดเล็ก ทำเป็นผ้าสไบเป็นส่วนแทนประโยชน์ใช้สอย เดิมคือห่มกันหนาว หรือปกปิดร่างกายส่วนบน โดยการห่มทับเสื้อ ผ้าห่มของภูไทที่เรียกว่า ผ้าจ่อง เป็นผ้าทอด้ายยืน มีเครื่องลาย เครื่องพื้นหลายแบบนอกจากนี้ยังมีผ้าแพรวานอกจากผ้าจ่องแล้ว ชาวภูไทยังมีผ้าลาย ซึ่งใช้เป็นผ้ากั้นห้อง หรือใช้ห่มแทนเสื้อกันหนาวหรือต่อกลาง 2 ผืน เป็นผ้าห่มขนาดใหญ่พอสมควร แต่ผ้าลายที่มีชื่อคือผ้าลายบ้านนางอย อำเภอเต่างอย จังหวัดสกลนคร การแต่งกายของชาวภูไท ยังนิยมสายสร้อยคอ สร้อยข้อมือ ข้อเท้า (ก้องแขน ก้องขา) ทำด้วยโลหะเงิน เกล้าผมเป็นมวยสูงตั้งตรงในสมัยโบราณใช้ผ้ามนหรือแพรมน ทำเป็นผ้าสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ ม้วนผูกมวยผมอวดลายผ้าด้านหลังใน ปัจจุบันใช้ผ้าแถบเล็ก ๆ สีแดงผูกแทนแพรมน

กลอน รักสามเศร้า

12 Mar

รักที่ต้อง เลือกรัก มักเจ็บสุด

เมื่อถึงจุด ต้องเลือกใคร คนในฝัน

คนหนึ่งเคย ทิ้งไป ไม่สนกัน

คนหนึ่งนั้น แสนดี เริ่มมีใจ

 

วันหนึ่งเธอ กลับมา หาอีกครั้ง

ถึงเคยทิ้ง แต่รักยัง ไม่จางหาย

วันที่เธอ ทิ้งไป อย่างง่ายดาย

อยากจะลืม แต่สุดท้าย ไม่ลืมเธอ

 

คนอีกคน เข้ามาวัน ที่เธอทิ้ง

ทำทุกสิ่ง ให้ฉัน นั้นเสมอ

คอยดูแล จากวันที่ ไม่มีเธอ

จนฉันเผลอ มีใจ ทิ้งไม่ลง

 

รักสามเศร้า ต้องจบลง ที่ตรงนี้

ฉันต้องเลือก สักทางที่ ไม่มีหลง

คนเคยทิ้ง…ก็ตัดใจ…ลืมไม่ลง

อีกคนคง…ไม่อยาก…จะจากไป

 

กลอน ไม่ได้ขอ

12 Mar

ไม่ได้ขอ ให้เทอ มารักฉัน

 

ไม่ได้ขอ ให้ผูกพัน ให้หวั่นไหว

 

ไม่ได้ขอ ให้สงสาร ให้ห่วงใย

 

ไม่ได้ขอ ให้อยู่ใกล้ คอยสบตา

 

ไม่ได้ขอ ความผูกพัน อย่างลึกซึ้ง

 

ไม่ได้ขอ ให้คิดถึง ให้มาหา

 

ไม่ได้ขอ ให้เทอนั้น คืนกลับมา

 

ไม่อยากขอ เพราะรู้ว่า .. ไม่มีวัน

กลอน นก..ในกรง…

10 Mar

อยากเหิรบินก้าวไปไขว่คว้าฝัน
แต่ถูกกั้นด้วยกรงใจ” ชายอสูร ”
ทั้งโหดร้ายใจดำแสนทารุณ
ไร้อบอุ่นต้องทนเศร้าเหงาเดียวดาย

ดั่งเหมือนนกปีกหักจากต่างถิ่น
ที่หลงบินตกลงมาหาความหมาย
ไม่คุ้นเคยความแห้งแล้งจากน้ำใจ
ถูกขังไว้ในกรงทองต้องร้าวราน

ถูกบังคับให้ร้องเพลงบรรเลงร่า…
ไม่นำพาก็ผลักไสไม่สงสาร
ทิ้งให้อยู่ตามลำพังทรมาน
ต้องหนาวสั่นงันงกอกระทม

ฟากฟ้าเป็นอย่างไรลืมหมดสิ้น
ไม่ได้บินมานานพลันขื่นขม
ม่านสายรุ้งงดงามเคยได้ชม
ต้องสายลมบินถลาพาสุขใจ

ได้แต่เฝ้ารอน้ำใจใครคนหนึ่ง
เป็นผู้ซึ่งเวทนาไม่ผลักไส
มีเมตตาเปิดกรงทองแห่งหัวใจ
พาบินไปสู่ฟากฝันอันเรืองรอง.